2P Safety Hospital

ภาคประชาชน

หน้าหลัก / ความร่วมมือเครือข่ายด้านความปลอดภัย / ภาคประชาชน

งานภาคประชาชน

Author : Netnapa Date : 29 ธ.ค. 2564
View : 6,122 Tags :

การขับเคลื่อนภาคประชาชน 2P สู่ 3P Safety (People) 

          การดำเนินงานการดำเนินโครงการพัฒนากลไกเพื่อคุณภาพและความปลอดภัยของระบบบริการสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม ในระยะที่ 1 (พ.ศ.2561-2564) โดยในปีแรก พ.ศ. 2561 เป็นโครงการที่ขับเคลื่อนตามแผนบูรณาการระบบหลักประกันสุขภาพเพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและความปลอดภัย แต่ต่อมาในปี 2562  โครงการนี้ได้ถูกปรับเป็นโครงการเพื่อสนับสนุนตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี และในช่วงแรกได้เกิดการขับเคลื่อนและทำให้โรงพยาบาลสนใจเข้าร่วมโครงการ และประกาศเจตนารมณ์ เป็นโรงพยาบาลเพื่อคุณภาพและความปลอดภัย (2P safety) จำนวน 764 แห่ง  

ระยะที่ 2 (พ.ศ.2565-2568) มีการขับเคลื่อนเพื่อให้นโยบายการขับเคลื่อนความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข (2P Safety) ที่รัฐมนตรีประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2560 ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และเป็นการส่งเสริมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ประเด็นการเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี แผนย่อยการพัฒนาระบบริการสุขภาพที่ทันสมัยสนับสนุนการสร้างสุขภาวะที่ดี และส่งผลให้ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยได้มาตรฐานเป็นอันดับที่ 1 ใน 20 ภายในปี พ.ศ. 2570 รวมถึงดำเนินการสอดคล้อง กับ Global Patient Safety Action Plan 2021–2030 ที่องค์การอนามัยโลกเสนอ และการดำเนินโครงการในระยะที่ 2 จะเพิ่มความคลุม รพ. 2P Safety เป็นร้อยละ 65 ในปี พ.ศ. 2568 และขยายการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยสู่ระบบบริการปฐมภูมิ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้เกิดคุณภาพและความปลอดภัยเพิ่มมากยิ่งขึ้น จากเป้าหมาย Patient and Personnel หรือ 2P Safety เป็น Patient, Personal and People Safety: 3P Safety เพื่อให้ระบบบริการสุขภาพมีคุณภาพความปลอดภัยสำหรับประชาชนทุกคนในประเทศไทย 

           เป้าหมายการขับเคลื่อน

          ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานพยาบาล พัฒนาระบบบริการจากประสบการณ์ของผู้ป่วยหรือให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบริการเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพอย่างยั่งยืนตามความต้องการของประชาชน เพื่อประเทศไทยมีระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสำหรับทุกคน 

          กลไกการขับเคลื่อน 

           มีการขับเคลื่อนรูปแบบคณะกรรมการ ตามยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายภาคประชาสังคม ผู้ป่วยและองค์กรต่างๆ ในระบบบริการสุขภาพ โดยมีบทบาทในการกำหนดประเด็นสำคัญ วางแผนและดำเนินงานภาคประชาชนเพื่อส่งเสริมระบบบริการสุขภาพให้มีความปลอดภัย รวมทั้งส่งเสริมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายภาคประชาสังคม ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีความปลอดภัย และสื่อสารสาธารณะระบบบริการสุขภาพและแนวทางการดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วย รวมทั้งสร้างความเข้าใจทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ 



คณะกรรมการการขับเคลื่อน 

คำสั่งคณะกรรมการ

สำหรับประชาชน

แนวทางการดูแลสำหรับประชาชน

ระบบการรับฟังประสบการณ์ผู้ป่วยสู่การปรับระบบบริการ 

ทำแบบประเมินการรับฟังประสบการณ์ผู้ป่วย