คลังความรู้

หนังสือการพัฒนาคุณภาพ

หน้าหลัก / คลังความรู้ / หนังสือการพัฒนาคุณภาพ

แนวทางการพัฒนา ระบบการดูแลผู้ป่วยด้วยมิติจิตวิญญาณ SPIRITUAL HEALTHCARE in ACTION(SHA)

Author : khwanhathai@ha.or.th Date : 24 ม.ค. 2566
View : 6,275 Tags :

        บริการสุขภาพที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง (People-Centered) เป็นจุดเน้นที่องค์การอนามัยโลกส่งเสริมให้เกิดขึ้น ซึ่งต้องครอบคลุมในเชิงกว้างทั้งผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน ผู้ให้บริการ และนำไปปฏิบัติในเชิงลึก ด้วยความเข้าใจมิติจิตวิญญาณซึ่งมีผลต่อสุขภาวะ

        ประเทศไทยมประสบการณ์ การพัฒนาการดูแลที่นำมิติจิตวิญญาณมาบูรณาการกับบริการสุขภาพด้วยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 2548 ในการกระบวนการ HA มากระตุ้นกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพ (HPH) ในโรงพยาบาล ซึ่งต้องมีความเข้าใจในวิถีชีวิต ค่านิยม และบริบทของชุมชน มาเป็นพื้นฐานในการเสริมพลังและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

        ในปี 2552 มีการทำโครงการต่อเนื่องเพื่อเป้าหมายบริการสุขภาพที่ยั่งยืนโดยอาศัยมิติจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นฐานสำคัญของการดำเนินงาน ภายใต้ชื่อโครงการที่รู้จักกันว่า SHA (Sustainable Healthcare & Health Promotion by Appreciation & Accreditation) ผลลัพธ์ของโครงการนี้พบว่าสถานพยาบาลสามารถนำเสนอการเปลี่ยนแปลงของตัวคนทำงาน การปรับกระบวนการทำงานกับผู้ป่วยให้สอดคล้องกับความต้องการและบุคลากรมีความสุขและปกติใจในการทำงาน

        สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ได้นำประสบการณ์จากการทดลองปฏิบัติในสถานพยาบาลดังกล่าวมาทบทวนและต่อยอดเสริมความรู้ด้านนี้จากงานวิชาการในระดับสากลการวิจัยในบริบทของประเทศไทยเพื่อให้การปฏิบัติในสถานพยาบาลมีความเหมาะสมน่าเชื่อถือและสอดคล้องกับหลักวิชาการจนสามารถรวมแนวความคิดออกมาเป็นแนวทางการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยด้วยมิติจิตวิญญาณ (Spiritual Healthcare in Action) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสำหรับสถานพยาบาลในการพัฒนาคุณภาพทางมิติจิตวิญญาณ

        สถาบันฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแนวทางฉบับนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับสถานพยาบาลในการพัฒนาคุณภาพทางมิติจิตวิญญาณเพื่อส่งเสริมบริการสุขภาพที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางต่อไป


เอกสารแนบ
  1. aw-แนวทางการพัฒนาระบบการทำงานในสถานพยาบาลด้วยมิติจิตวิญญาณ 28-10-65 final.pdf
    View