หลักเกณฑ์เพิ่มเติม ในการออกแบบระบบงาน ด้วยมิติจิตวิญญาณ ประกอบมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5
บริการสุขภาพที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง (people-centered healthcare) เป็นจุดเน้นที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญและส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกได้นำแนวคิดนี้มาปรับปรุงและพัฒนาระบบสุขภาพตลอดจนในกระบวนการดูแลผู้ป่วย สำหรับประเทศไทยได้นำแนวคิดนี้มาลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการนำแนวคิดมิติด้านจิตวิญญาณมาบูรณาการกับกระบวนการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (HA) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 มีการพัฒนาให้มีการบูรณาการอย่างชัดเจนและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ภายใต้ชื่อโครงการ SHA (Sustainable Health Promotion & Healthcare Accreditation Spiritual Healthcare Appreciation) ซึ่งมีแนวทางการทำงานที่ประกอบด้วย เป้าหมาย หลักการและวิธีการ ดังแผนภาพSHA มีองค์ประกอบที่บูรณาการทั้ง ความปลอดภัย มาตรฐาน HA มาตรฐานสร้างเสริมสุขภาพ HPH และ Humanize Healthcare มิติจิตวิญญาณ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในระบบบริการสุขภาพ โดยใช้กระบวนการ Appreciation เพื่อให้กระบวนการรับรองคุณภาพมีความยั่งยืนและมีความหมายต่อคนทำงาน ผู้ป่วย องค์กร